วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของวิชาจิตวิทยา

Psychology



จิตวิทยา มาจากคำศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า Psychology ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำในภาษากรีกสองคำ คือ


1.Psyche แปลว่า วิญญาณ และ
2.Logos แปลว่า วิชา, การศึกษา


เมื่อรวมทั้งสองคำเข้าด้วยกันจึงกลายเป็นคำว่า Psychology ได้ความหมายว่า จิตวิทยาคือการศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณหรือจิต




คำว่า “จิตวิทยา” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายว่า “จิตวิทยา [จิตตะ-] น. วิชาว่าด้วยจิต, วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยปรากฏการณ์พฤติกรรมและกระบวนการของจิต.”


นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการได้ให้ความหมายของวิชาจิตวิทยาไว้อย่างมากมายซึ่งพอสรุปได้ว่า “จิตวิทยา คือ วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาจิตใจของมนุษย์ เป็นวิชาที่สอนให้เข้าใจถึงการกระทำของมนุษย์ เช่น แนวความคิดของมนุษย์ ความปรารถนาต่าง ๆ ของมวลมนุษย์ แรงจูงใจที่ทำให้มนุษย์มีการกระทำต่าง ๆ ความจำ และความรู้สึกที่สลับซับซ้อน”




จิตวิทยายุคใหม่ เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยนักจิตวิทยาในยุคนี้ได้ยกเลิกวิธีการศึกษาแบบเดิมแล้วหันมาใช้วิธีการทดลองและศึกษาอย่างเป็นระบบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีวิลเฮล์ม แมกซ์ วุนต์  เป็นนักจิตวิทยาคนแรกที่ได้เปิดห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้นเป็นแห่งแรกของโลกในปี ค.ศ.1879 ที่มหาวิทยาลัยไลป์ซิก (Leipzig) ประเทศเยอรมนี จึงทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งวิชาจิตวิทยายุคใหม่ และวิชาจิตวิทยาก็แยกออกมาจากปรัชญาแล้วถูกผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาในด้านพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์นับแต่นั้นเป็นต้นมา




วิลเฮล์ม แมกซ์ วุนต์ (Wilhelm Max Wundt 1832 - 1920) บิดาแห่งวิชาจิตวิทยายุคใหม่

1 ความคิดเห็น:

  1. According to Stanford Medical, It's indeed the one and ONLY reason women in this country get to live 10 years more and weigh 19 kilos less than us.

    (Just so you know, it is not about genetics or some secret-exercise and EVERYTHING about "HOW" they are eating.)

    P.S, I said "HOW", not "WHAT"...

    Tap on this link to determine if this short questionnaire can help you unlock your real weight loss potential

    ตอบลบ