วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของวิชาจิตวิทยา

Psychology



จิตวิทยา มาจากคำศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า Psychology ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำในภาษากรีกสองคำ คือ


1.Psyche แปลว่า วิญญาณ และ
2.Logos แปลว่า วิชา, การศึกษา


เมื่อรวมทั้งสองคำเข้าด้วยกันจึงกลายเป็นคำว่า Psychology ได้ความหมายว่า จิตวิทยาคือการศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณหรือจิต




คำว่า “จิตวิทยา” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายว่า “จิตวิทยา [จิตตะ-] น. วิชาว่าด้วยจิต, วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยปรากฏการณ์พฤติกรรมและกระบวนการของจิต.”


นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการได้ให้ความหมายของวิชาจิตวิทยาไว้อย่างมากมายซึ่งพอสรุปได้ว่า “จิตวิทยา คือ วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาจิตใจของมนุษย์ เป็นวิชาที่สอนให้เข้าใจถึงการกระทำของมนุษย์ เช่น แนวความคิดของมนุษย์ ความปรารถนาต่าง ๆ ของมวลมนุษย์ แรงจูงใจที่ทำให้มนุษย์มีการกระทำต่าง ๆ ความจำ และความรู้สึกที่สลับซับซ้อน”




จิตวิทยายุคใหม่ เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยนักจิตวิทยาในยุคนี้ได้ยกเลิกวิธีการศึกษาแบบเดิมแล้วหันมาใช้วิธีการทดลองและศึกษาอย่างเป็นระบบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีวิลเฮล์ม แมกซ์ วุนต์  เป็นนักจิตวิทยาคนแรกที่ได้เปิดห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้นเป็นแห่งแรกของโลกในปี ค.ศ.1879 ที่มหาวิทยาลัยไลป์ซิก (Leipzig) ประเทศเยอรมนี จึงทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งวิชาจิตวิทยายุคใหม่ และวิชาจิตวิทยาก็แยกออกมาจากปรัชญาแล้วถูกผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาในด้านพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์นับแต่นั้นเป็นต้นมา




วิลเฮล์ม แมกซ์ วุนต์ (Wilhelm Max Wundt 1832 - 1920) บิดาแห่งวิชาจิตวิทยายุคใหม่