John Broadus Watson

จอห์น บี. วัตสัน (John Broadus Watson)

 

 
 
จอห์น บี. วัตสัน เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ก่อตั้งสำนักพฤติกรรมนิยม เขาให้ความหมายของสำนักนี้ไว้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาหนึ่งที่เกี่ยว ข้องกับการทดลอง โดยมีเป้าหมายเพื่อทำนายและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์. รูปแบบของสำนักนี้มีพื้นฐานจากการศึกษาเรื่องการตอบสนองแบบวางเงื่อนไข (conditioned reflex) ของอิวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ที่ว่าพฤติกรรมทุกพฤติกรรมคือการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือชุดของสถานการณ์ที่ เป็นสิ่งเร้าที่ซับซ้อน. ตอนที่เราเกิด มีสิ่งเร้าเพียงไม่กี่อย่างที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่แน่ชัด. แต่พฤติกรรมส่วนใหญ่เป็นการถูกวางเงื่อนไข โดยเป็นผลมาจากการเชื่อมโยงสิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไขเข้ากับสิ่งเร้า อื่นๆ.*
วัตสันเกิดในปี 1878 ในครอบครัวยากจนที่ชนบทของเซาธ์แคโรลินา (South Carolina). แม่ของเขาเป็นผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนต์ที่เคร่งครัด ส่วนพ่อของเขาทิ้งครอบครัวไปในปี 1891. หลังจากผ่านหลักสูตรดั้งเดิมตามประเพณีที่มหาวิทยาลัยเฟอร์แมน (Furman University) เขาเรียนต่อด้านปรัชญาที่มหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก (University of Chicago). แต่ความผิดหวังในการสอนของจอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ทำให้เขาหันมาทำงานด้านจิตวิทยาสัตว์ และได้รับปริญญาเอกในปี 1903. วัตสันทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยจอห์นส ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) ระหว่างปี 1908 ถึง 1920 ก่อนที่จะถูกไล่ออกเพราะไปมีความสัมพันธ์กับลูกศิษย์ที่ชื่อโรสารี เรย์เนอร์ (Rosalie Rayner). เขาหย่ากับภรรยาและแต่งงานกับโรสารี และประสบความสำเร็จจากงานด้านการโฆษณา. ในปี 1957 เขาได้รับรางวัลเหรียญทองจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) (ซึ่งในปี 1915 เขาได้เป็นประธานสมาคมที่อายุน้อยที่สุด). วัตสันเสียชีวิตในปี 1958. (อายุรวม 80 ปี)
ประเด็นด้านพัฒนาการ (developmental issue) เป็นประเด็นสำคัญสำหรับสำนักพฤติกรรมนิยม. วัตสันระบุไว้ว่า บุคลิกภาพของผู้ใหญ่ที่ไม่สมบูรณ์ (หรือผิดปกติ) เป็นผลมาจากระบบนิสัยที่ได้มาจากวัยทารก. วัยเด็กตอนต้นเป็นวัยที่สำคัญ ความรู้อย่างละเอียดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการออก แบบเทคโนโลยีทางสังคมด้านพฤติกรรม. การให้ความสำคัญกับวัยเด็กและการศึกษาเกี่ยวกับเด็กของสำนักพฤติกรรมนิยม สรุปได้จากคำกล่าวที่มีชื่อเสียงของวัตสันที่ว่า “นำทารกที่มีสุขภาพดีให้กับผม 12 คน…และโลกที่เป็นพิเศษของผมจะเลี้ยงดูพวกเขาเอง ผมรับรองว่าผมจะปฎิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียมและฝึกฝนให้พวกเขากลายเป็นผู้ เชี่ยวชาญแต่ละด้านที่ผมเลือก…ไม่ว่าความฉลาด ความชื่นชอบ นิสัย ความสามารถ ความโน้มเอียงในการเลือกอาชีพ และเชื้อชาติของบรรพบุรุษของพวกเขาจะเป็นอย่างไร”
ในปี 1917 วัตสันให้ความสนใจในงานวิจัยของเขาเกี่ยวกับเด็ก. เขาเป็นผู้บุกเบิกงานด้านการสังเกตและการทดลองเกี่ยวกับเด็กแรกเกิดและเด็ก ทารก โดยผลิตภาพยนตร์ด้านจิตวิทยาเรื่องแรกๆ ของอเมริกาชื่อ “การสำรวจทดลองเกี่ยวกับเด็กทารก” (Experimental Investigation of Babies) (1919) และเขียนหนังสือคู่มือขายดีที่ชื่อ “การดูแลทางด้านจิตวิทยาในทารกและเด็ก” (Psychological Care of Infant and Child) ทำให้เขากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงดูเด็กที่มีชื่อเสียง. งานวิจัยจำนวนมากของเขามุ่งตรงไปที่การแยกแยะพฤติกรรมที่ไม่ได้เกิดจากการ เรียนรู้กับพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้. การสังเกตเด็กทารกจำนวนหลายร้อยคนแสดงให้เห็นว่าการจาม การสะอึก การร้องไห้ การตั้งตรงของอวัยวะเพศ การถ่ายปัสสาวะ การถ่ายอุจจาระ การยิ้ม การเคลื่อนไหวของลูกตา และการตอบสนองของกล้ามเนื้อไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่พวกเขาก็เริ่มถูกวางเงื่อนไขในไม่กี่ชั่วโมงหลังการเกิด. ส่วนการคลาน การว่ายน้ำ และการใช้มือข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้างหนึ่งเกิดจากการเรียนรู้. นอกจากนี้ วัตสันได้ตามรอยต้นกำเนิดของภาษาเกี่ยวกับการออกเสียงที่ไม่ได้เกิดจากาการ เรียนรู้ และพบว่ามีรูปแบบการตอบสนองทางอารมณ์ 3 รูปแบบ (เกี่ยวกับสัญชาติญาณ) ที่ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดโดยเป็นการตอบสนองกับสิ่งเร้า 3 ชุด การตอบสนองดังกล่าว ได้แก่ ความกลัว (fear) (เกิดจาการไม่ได้รับการตอบสนองและเสียงที่ดัง วัตสันไม่ได้ระบุไว้ว่าความกลัวที่ถูกวางเงื่อนไขโดยการเผาไฟของเขานั้นขัด แย้งกับมุมมองของเขาเอง) ความโมโห (rage) (เกิดจากการถูกขัดขวางการเคลื่อนไขวของร่างกาย) และความรัก (เกิดจากการสัมผัสผิว การจั๊กจี้ การโยกไกวอย่างอ่อนโยน และการตบเบาๆ). มีเพียงความกลัวความมืดและความรักของเด็กที่มีต่อแม่ที่ไม่ได้มีมาแต่กำเนิด และไม่ได้เป็นไปตามสัญชาติญาณ แต่ “นิสัยที่เกิดจากสัญชาติญาณ” (visceral habits) ทุกอย่างสามารถปรับเปลี่ยนได้โดยการวางเงื่อนไข. หนึ่งในการทดลองทางจิตวิทยาที่มีการโต้เถียงกันมากที่สุดคือ การที่วัตสันวางเงื่อนไขเด็กทารกอายุ 11 เดือนที่ชื่อ “อัลเบิร์ตน้อย” (little Albert) ให้กลัววัตถุที่มีขน กรณีนี้เป็นข้อพิสูจน์ของเขาที่ว่าพฤติกรรมที่ซับซ้อนถูกพัฒนาขึ้นจากการวาง เงื่อนไขการตอบสนองง่ายๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้.
วัต สันมองว่าจุดมุ่งหมายสูงสุดของจิตวิทยาคือการปรับเปลี่ยนความต้องการของ บุคคลให้เข้ากับความต้องการของสังคม. เขาสนับสนุนให้ผู้ปกครองเลี้ยงดูเด็กเด็กด้วยวิธีการแบบมืออาชีพของสำนัก พฤติกรรมนิยม. หนังสือ “การดูแลทางด้านจิตวิทยาในทารกและเด็ก” (1928) ถูกอุทิศให้แก่ “แม่คนแรกที่ทำให้เด็กมีความสุข” (to the first mother who bring up a happy child). เด็กเหล่านี้จะมีความเป็นตัวของตัวเอง ปราศจากความกลัว เชื่อมั่นในตนเอง ปรับตัวได้ดี แก้ปัญหาได้ ไม่ร้องให้แม้ว่าจะเจ็บตัว สนใจการงานและการเล่น และไม่ยึดติดกับสถานที่หรือบุคคลใดมากเกินไป. วัตสันเตือนถึงอันตรายของ “ความรักของแม่ที่มากเกินไป” และการใช้ตารางเวลาที่เข้มงวดและการควบคุมสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของเด็ก อย่างเคร่งครัด. การไม่เลิกดูดนิ้วโป้ง การช่วยตนเอง และการชอบเพศเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องของศีลธรรม แต่เป็นเรื่องของการกระทำ เขาสนับสนุนให้ผู้ปกครองตรงไปตรงมากับเด็กในเรื่องเพศ. เขาเห็นด้วยกับนักจิตวิเคราะห์ในเรื่องความสำคัญของเรื่องเพศ. ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการสิ้นสุดลงก่อนเวลาอันสมควรของการทำงานของวัตสันใน มหาวิทยาลัย ทำให้มุมมองของเขาไม่มีอิทธิพลด้านการตัดสินใจต่อแวดลงวิชาการด้านจิตวิทยา เด็ก. อย่างไรก็ตาม แวดวงวิชาการก็ยอมรับการเลี้ยงดูเด็กอย่างมืออาชีพและสนับสนุนความคิดเห็น ร่วมสมัยของวัตสันในการพิจารณาผลของพัฒนาการในวัยเด็กที่มีต่อชีวิตระยะยาว (ตัวอย่างผู้ที่ยอมรับคือ เฟรดและจอห์น ดิวอี้).